วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์

ก่อนที่จะวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการกันความร้อนระหว่างฟิล์มติดรถยนต์แบบสีเข้ม และฟิล์มใสนั้น ขั้นแรกเราควรรู้จักประเภทของฟิล์มกรองแสงแบบเข้ม และแบบใสก่อน ซึ่งหากนำมาแบ่งประเภทแบบง่ายๆ ฟิล์มเข้มนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ ตามสีฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ดังนี้
 
1. ฟิล์มสีเข้มชนิดไม่เงา
 
2. ฟิล์มสีเข้มชนิดเงา หรือฟิล์มเคลือบไอโลหะ (ฟิล์มปรอท)
 
3. ฟิล์มย้อมสีเข้ม
 
ส่วนฟิล์มใสนั้น แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
 
1. ฟิล์มใส ที่ไม่มีความสามารถในการกรองแสงและลดความร้อน แต่มักจะมีประสิทธิภาพในการ
กรองรังสี UV ฟิล์มชนิดนี้มักใช้ตามอาคารเป็นฟิล์มประเภทฟิล์มนิรภัย
 
2. ฟิล์มใสประเภทนาโน ที่มีแสงส่องผ่านได้มากกว่า 60% และไม่เงา แต่ลดความร้อนได้สูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับวัสดุที่ใช้ผลิตและนำมาเคลือบฟิล์ม
 
จากที่ได้กล่าวข้างต้น จะพบว่า หากจะนำฟิล์มทั้งสองประเภทมาเปรียบเทียบว่าแบบไหนกันความร้อนได้ดีกว่ากันนั้น ควรเปรียบเทียบฟิล์มสองประเภทที่มีความเข้ม (ปริมาณแสงส่องผ่าน)ที่ใกล้เคียงกัน จึงจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดความร้อนได้
 
อย่างไรก็ตาม หากต้องการเปรียบเทียบความสามารถในการลดความร้อนของฟิล์มกันความร้อนแบบเข้ม และแบบใส นั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ค่าการลดความร้อนรวมของฟิล์ม ความสามารถในการตัดรังสีอินฟราเรด ความมืดเข้มของฟิล์ม เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการลดความร้อนของฟิล์ม 
 
ตัวอย่างเช่น ฟิล์มรุ่น FX5 ซึ่งเป็นฟิล์มกรองแสงแบบเข้มชนิดไม่เงา ที่แสงส่องผ่านประมาณ 5% และประสิทธิภาพการลดความร้อนรวมอยู่ที่ประมาณ 58% จะสามารถกันความร้อนได้ดีกว่า FX series รุ่นอื่นๆที่มีความเข้มน้อยกว่า
 
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับฟิล์มกลุ่ม FXR series บางรุ่น เช่น FXR-10 หรือ FXR-20 ที่แสงส่องผ่านมากกว่า 5% แต่สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ดีกว่า ทำให้ลดความร้อนรวมได้มากกว่า FX5 ทั้งนี้ เพราะรุ่น FXR เป็นฟิล์มที่เคลือบไอโลหะ ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนออกไปภายนอกได้ดีกว่า
 
อย่างไรก็ตาม จะมีข้อยกเว้นสำหรับฟิล์มใสคริสตัลไลน์ (Crystalline series) ซึ่งเป็นฟิล์มใสนาโนที่ไม่เคลือบไอโลหะ แต่มีประสิทธิภาพในการตัดรังสีอินฟราเรดได้สูง จึงลดความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าฟิล์มจะใส และกรองแสงส่องผ่านได้น้อยกว่าก็ตาม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น